top of page

เรื่อง ระบบประสาท

Do Now

    บอก 1 สิ่งที่นักเรียนเห็นในภาพ

รูปคนแคระ.jpg

Purpose

    เราจะเรียนเรื่องระบบประสาท เพื่อรู้ถึงความสำคัญของระบบประสาทและดูแลการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่นให้ถูกวิธี

ระบบประสาท

ระบบประสาท.png

ระบบประสาท

  ความสำคัญของระบบประสาทที่มีผลต่อสุขภาพ การเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น

      ระบบประสาท ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาท ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมและประสานการทำงานของระบบต่างๆ
ในร่างกายให้ดำเนินไปด้วยดี โดยมีสมองเป็นอวัยวะหลัก ระบบประสาทจึงมีความสำคัญต่อภาวะสุขภาพ การเจริญเติบโตของร่างกาย และพัฒนาการด้านต่างๆคือเป็นตัวควบคุมการทำงานและรับความรู้สึกของอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย รวมถึงความรู้สึกนึกคิด อารมณ์และความทรงจำต่างๆซึ่งเมื่อได้รับการกระตุ้นจากภายในและภายนอก จะมีการส่งกระแสประสาทกลับไปกลับมา ระหว่างสมองและอวัยวะส่วนต่างๆให้ทำงานตามที่ต้องการ เช่น การเคลื่อนไหวของอวัยวะในอิริยาบถต่างๆการกะพริบตา หรือสั่งการให้กล้ามเนื้อมัดต่างๆทำงาน นอกจากนั้นยังควบคุมการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ ความดันโลหิต อุณหภูมิในร่างกาย การย่อยอาหาร และการทำงานของระบบอื่นๆของร่างกาย

  

  โครงสร้างของระบบประสาท

      ระบบประสาทเป็นระบบศูนย์กลางที่ ควบคุมการทำงานของร่างกาย เป็นระบบที่ทำหน้าที่รับความรู้สึก ควบคุมความคิด ถ้ามีอันตรายใดๆเกิดขึ้นกับสมอง ก็จะทำให้ร่างกายพิการหรือเสียชีวิตได้ ระบบประสาทแบ่งเป็น ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) ระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nervous System) และระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System)

   ระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ สมอง และไขสันหลัง

      สมอง (Brain) เป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่กว่าส่วนอื่นๆอยู่ในกะโหลกศรีษะ สมอง แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ สมองส่วนหน้า สมองส่วนกลาง และสมองส่วนท้าย

  สมองส่วนหน้า (Forebrain) มีหน้าที่ ดังนี้

      1. เกี่ยวข้องกับด้านความคิด ความจำ เชาวน์ปัญญา เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานด้านต่างๆการสัมผัส การพูด การมองเห็น รับรส การได้ยิน การดมกลิ่น และการทำงานของกล้ามเนื้อ

      2. เป็นศูนย์รวบรวมกระแสประสาทที่ผ่านเข้าออก และแยกกระแส-ประสาท ไปยังสมอง

      3. เป็นศูนย์ควบคุมกระบวนการต่างๆของร่างกาย เช่น การทำงานพื้นฐานของร่างกาย ได้แก่ ความหิว ความดันโลหิต ความต้องการทางเพศการหลั่งฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อ และการแสดงอารมณ์ความรู้สึก

  สมองส่วนกลาง (Midbrain)

      เป็นสมองส่วนที่อยู่ต่อจากสมองส่วนหน้า ทำหน้าที่รับส่งกระแสประสาทระหว่างสมองส่วนหน้ากับส่วนท้าย บริเวณส่วนบนของสมองส่วนกลางจะพองออกเป็น 4 พู เรียกว่า ออปติกโลบ (Optic lobe) ซึ่งส่วนนี้จะมีขนาดเล็กและถูกเซรีบรัมบดบังไว้มีหน้าที่ดังนี้

      - ควบคุมการเคลื่อนไหวของนัยน์ตา ทำให้ลูกตากลอกไปมาได้ ควบคุมการปิดเปิดของรูม่านตา ในเวลาที่มีแสงสว่างเข้ามามากและน้อย

  สมองส่วนท้าย (Hindbrain) มีหน้าที่ ดังนี้

      ไขสันหลัง (Spinal Cord) เป็นส่วนที่ต่อออกมาจากก้านสมอง อยู่ภายในกระดูกสันหลัง มีหน้าที่ถ่ายทอดกระแสประสาทระหว่างสมองและส่วนต่างๆของร่างกาย รวมทั้งควบคุมการเกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นอย่างฉับพลันทันที เช่น หลับตาเมื่อฝุ่นละอองเข้าตา ยกเท้าขึ้นเมื่อถูกหนามตำเท้า สมอง และไขสันหลังจะเป็นศูนย์กลางการรับรู้ และกระตุ้น ความรู้สึกจากสิ่งเร้า ทั้งภายในและภายนอกแล้วส่งผ่านไปยังเส้นประสาทที่กระจายตามส่วนต่างๆของร่างกาย

    ระบบประสาทส่วนปลาย ได้แก่ เส้นประสาทสมอง เส้นประสาทไขสันหลัง ทำหน้าที่รับและนำความรู้สึกเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่

    เส้นประสาทสมอง หรือเส้นประสาทที่แยกออกจากสมองทำหน้าที่รับความรู้สึกเกี่ยวกับการได้กลิ่น การมองเห็น การเคลื่อนไหวของตา

    เส้นประสาทไขสันหลัง เป็นเส้นประสาทที่ออกมาจากไขสันหลัง ทำหน้าที่ถ่ายทอด  กระแสประสาทไปสู่อวัยวะต่างๆของร่างกาย เช่น แขน ขา

               

    ระบบประสาทอัตโนมัติ ควบคุมการทำงานของประสาทที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของจิตใจให้เป็นไปตามปกติ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน

    ระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic Nerve) เป็นระบบประสาทที่มักกระตุ้นการทำงานมากกว่ายับยั้งการทำงาน เช่น หัวใจเต้นเร็ว ชีพจรเต้นแรงเมื่อตกใจกลัว

    ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic Nerve) เป็นระบบประสาทที่มักจะยับยั้งการทำงานมากกว่าที่จะกระตุ้นการทำงานเพื่อปรับไม่ให้ร่างกายทำงานมากเกินไป เช่น ลดอัตราการเต้นของหัวใจลงเมื่อคลายความตกใจกลัว ระบบประสาทซิมพาเทติกและพาราซิมพาเทติกจะทำหน้าที่ตรงกันข้ามเสมอเพื่อให้ร่างกายอยู่ในสภาวะปกติ

    การทำงานของระบบประสาท

      การทำงานของระบบประสาท ประกอบด้วย

      อวัยวะรับความรู้สึก (Sense Organs) รับรู้ความรู้สึกต่างๆที่เกิดขึ้นจากการสัมผัส ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง และกล้ามเนื้อ

      เส้นประสาท (Nerves) ทำหน้าที่รับและส่งกระแสประสาท หรือกระแสความรู้สึกต่างๆของร่างกายผ่านเข้าสู่ไขสันหลังไปยังสมอง และจากสมองไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย

      สมอง (Brain) และไขสันหลัง (Spinal Cord) สมองควบคุมความคิด ความจำ และความรู้สึก เช่น การเห็น การได้ยิน กลิ่น รสสัมผัส ส่วนไขสันหลังจะเป็นทางผ่านของกระแสประสาทไปสู่อวัยวะท่อนล่าง

      ประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous) ควบคุมการย่อยอาหาร การเต้นของหัวใจและกิจกรรมอื่นๆที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของประสาทส่วนกลาง ถ้าระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ อาจทำให้เกิดอาการหัวใจเต้นเร็วหรือช้าเกินไป ความดันโลหิตตํ่าหรือสูง ระบบการย่อยอาหารผิดปกติ ทำให้เกิดอาการ เช่น ท้องผูกหรือท้องเสีย ท้องอืด อาหารไม่ย่อย

      วิธีดูแลรักษาระบบประสาทให้ทำงานตามปกติ

    - รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ซึ่งอาหาร 5 หมู่ มีอาหารบำรุงระบบประสาทอยู่แล้ว จึงควรรับประทานให้ครบ 5 หมู่ ทุกวัน ได้แก่

    - พักผ่อนให้เพียงพอ โดยเข้านอนแต่หัวคํ่า ตื่นนอนตั้งแต่เช้า จะทำให้สมองเจริญเติบโตเต็มที่

    - ออกกำลังกายอย่างสมํ่าเสมอ จะช่วยพัฒนาการทำงานของระบบประสาทให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการออกกำลังกายยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการประสานการทำงานระหว่างประสาทกับกล้ามเนื้อหรือกลไกของทักษะกีฬาต่างๆ

    - สังเกตหรือสำรวจความผิดปกติของระบบประสาท เช่น ปวดศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชา ซึม หมดสติ ชัก

    - ไม่สูบบุหรี่ เพราะอาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดตีบ แต่ที่สำคัญคือ ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดและถุงลมโป่งพอง

    - ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาท เช่น อุบัติเหตุที่เกิดจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ โดยไม่สวมหมวกนิรภัย ทำให้เซลล์สมองได้รับการกระทบกระเทือนอย่างหนัก ส่งผลให้เซลล์สมองส่วนนั้นตาย ทำให้พิการหรือถึงแก่ชีวิตได้

    อ้างอิงจากหนังสือเรียนสุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ผู้เรียบเรียง อุทัย สงวนพงศ์ สุณัฏฐา สงวนพงศ์ สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ(พว)

ใบงาน Mind Mapping เรื่อง ระบบประสาทส่วนกลาง(สมอง)

ใบงาน Diagram เรื่อง ระบบประสาทส่วนปลาย

กาตูนทำข้อสอบ.gif
ระบบประสาท.jpg
ระบบประสาท2.jpg
ระบบประสาท3.jpg
ระบบประสาท4.jpg
ระบบประสาท5.jpg
ระบบประสาท6.jpg
ระบบประสาท7.jpg
ระบบประสาท8.jpg
ระบบประสาท9.jpg
ระบบประสาท10.jpg
ระบบประสาท11.jpg
ระบบประสาท12.jpg
bottom of page